รวมเคล็ด (ไม่) ลับการซ่อมบำรุงเครื่องอัดอากาศในโรงงาน

เพราะการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม (Air Compressor) เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณนั้นยังไม่ชำรุดหรือยังไม่เกิดปัญหา แต่การดูแลและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศในโรงงานเป็นประจำจะช่วยให้คุณใช้งานอย่างอุ่นใจมากขึ้น สามารถคงรักษาไว้ซึ่งความทนทาน ความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง แถมช่วยให้คุณประหยัดพลังงานได้อีกด้วย วันนี้เราจึงรวบรวมวิธีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศที่ถูกต้องมาฝากกัน
ทำไมการบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศในโรงงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ?
ก่อนจะไปดูว่าวิธีซ่อมบำรุงเครื่องอัดอากาศในโรงงานนั้นมีอะไรบ้าง เราขอพูดถึงประโยชน์ดี ๆ ของการบำรุงรักษาเครื่องมือชิ้นสำคัญนี้ในโรงงานกันก่อน เนื่องจากในแวดวงอุตสาหกรรมนั้น ระบบอัดอากาศ (Compressed Air System) ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใดก็ตาม โดยเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมนี้ มีหน้าที่เป็นตัวสร้างแรงลม แรงอัดอากาศขึ้นมา เพื่อส่งต่อให้เครื่องมือหรือเครื่องจักรทุ่นแรงประเภทอื่น ๆ ทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมเครื่องมือวัด ระบบลำเลียงด้วยลม หรือระบบนิวเมติก (Pneumatic System) เช่น เครื่องเจียร และบล็อกลม ซึ่งหากเครื่องอัดอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมของคุณเกิดขัดข้อง ชำรุด หรือเกิดปัญหาขณะปฏิบัติงาน ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานทั้งหมด รวมทั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสินค้า ทรัพย์สินภายในโรงงาน และซ้ำร้ายที่สุดอาจส่งผลต่อร่างกายและชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ หากคุณละเลยต่อการซ่อมบำรุงเครื่องอัดอากาศอยู่บ่อยครั้ง ก็อาจจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงที่ไม่จำเป็นอีกด้วย
รวมเช็กลิสต์เครื่องอัดอากาศในโรงงาน มีอะไรบ้าง?
1. ระบบการทำงานของเครื่องอัดอากาศ
เนื่องจากประสิทธิภาพของการทำงานภายในเครื่องอัดอากาศถือเป็นเรื่องที่คุณควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เพื่อตรวจเช็กว่ายังมีการทำงานที่ปกติหรือไม่ ทั้งในส่วนของการสร้างอากาศอัด การจ่ายอากาศ การปล่อยอากาศอัด รวมทั้งการทำงานของมาตรวัดความดันที่มีประสิทธิภาพ โดยวิธีการบำรุงรักษาระบบการทำงานของเครื่องอัดอากาศในโรงงานที่คุณสามารถทำได้ง่าย ๆ มีดังนี้
- ตรวจสอบอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน และอุปกรณ์ระบายความร้อน
- ตรวจสอบการทำงานของมาตรวัดความดัน
- ตรวจสอบปริมาณการจ่ายอากาศของลมที่ออกไป
2. การควบคุมความดัน
เนื่องจากความดันภายในเครื่องอัดอากาศในโรงงานถือเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนการผลิตอากาศหรือลมให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณต้องการให้เครื่องอัดอากาศในโรงงานคุณผลิตลมในปริมาณที่สม่ำเสมอ เรามาดูกันว่ามีวิธีซ่อมบำรุงเครื่องอัดอากาศอะไรบ้าง ที่คุณควรตรวจสอบเป็นประจำ
- ตรวจสอบค่าความดันสูงสุด-ต่ำสุด
- ตรวจสอบมาตรวัดความดัน
- ตรววจสอบการตั้งค่าและการทำงานของวาล์วนิรภัยในการป้องกันการไหลกลับของลม
- ตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุมความดันลม
- ตรวจสอบสวิตซ์ที่ตั้งค่าความดันของวาล์ว
3. ระบบท่ออากาศ
ระบบท่อลมหรือท่ออากาศ (Vent System) สำหรับใช้ในเครื่องอัดอากาศในโรงงานเป็นส่วนที่จะช่วยส่งลมไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยปราศจากสิ่งเจือปน ไม่ว่าจะเป็นความชื้น น้ำมัน หรือฝุ่นละอองต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งหากคุณต้องการให้ลมที่ออกมามีคุณภาพเหมาะกับการใช้งาน เรามีวิธีในการดูแลระบบท่ออากาศสำหรับเครื่องอัดอากาศในโรงงานมาฝากกัน
- ตรวจสอบการรั่วซึมตามจุดเชื่อมต่อ
- ทำความสะอาดตัวดักความชื้น และอุปกรณ์ระบายความดันอย่างสม่ำเสมอ
4. ระบบระบายลมทิ้ง
ระบบระบายลมทิ้ง (Air Drain) มีหน้าที่หลักในการช่วยควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายในเครื่องอัดอากาศให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งยังเป็นการทำให้อากาศเกิดการไหลเวียนถ่ายเท เพื่อเป็นการนำเอาอากาศจากภายนอกเข้ามายังตัวเครื่องอัดอากาศภายใน และมีการระบายอากาศเสียออกไป ทั้งนี้ นอกจากจะช่วยรักษาคุณภาพของอากาศภายในตัวปั๊มลมแล้ว ยังเป็นการยืดอายุการใช้งานให้กับตัวเครื่องอัดอากาศภายในโรงงานของคุณได้อีกด้วย โดยวิธีดูแลรักษาระบบระบายลมทิ้งมีดังนี้
- ระบายลมทิ้งทุกวันหลังการใช้งาน
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ภายในอย่างสม่ำเสมอ
5. ระบบระบายน้ำทิ้ง
มาต่อกันที่ระบบสุดท้ายอย่าง ระบบระบายน้ำทิ้ง (Drainage System) ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้เครื่องอัดอากาศในโรงงานของคุณทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งช่วยลดการสึกหรอของเครือข่ายการจ่ายอากาศและอุปกรณ์อากาศอัดที่ติดตั้งได้อีกด้วย ไม่ว่าเครื่องอัดอากาศภายในโรงงานคุณจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ การระบายน้ำออกจากเครื่องอัดอากาศ เครื่องทำลมแห้ง ถังเก็บอากาศ และระบบท่ออากาศ ไม่ว่าจะด้วยวาล์วที่ต้องใช้ผู้ปฏิบัติงานเปิด-ปิดเอง (manual valve) หรือด้วยวาล์วระบายน้ำอัตโนมัติ (automatic drain valve) โดยเคล็ดลับในการดูแลรักษาระบบระบายน้ำทิ้งที่คุณสามารถทำได้ง่าย ๆ มีดังนี้
- ระบายน้ำทิ้งทุกวันหลังการใช้งาน โดยเปิดวาล์วระบายน้ำทุกจุด โดยเริ่มตั้งแต่อาฟเตอร์คูลเลอร์ (after-cooler) ถ้าเครื่องอัดอากาศของคุณมี ตามด้วยถังเก็บลม และเครื่องทำลมแห้ง
ทำความสะอาดคราบน้ำทิ้งตามจุดระบายน้ำทุกจุด เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาท่อตัน ที่ยังอาจก่อให้เกิดคราบสกปรกภายในตัวเครื่องอัดอากาศ รวมไปถึงกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ อีกด้วย - การระบายน้ำภายในปั๊มลม เป็นสิ่งที่เราแนะนำให้คุณตรวจสอบและทำอยู่เสมอ โดยให้คุณพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบการใช้งานเครื่องอัดอากาศ ความชื้นของอากาศที่เข้าสู่ตัวปั๊มลม หรือประเภทของปั๊มลมที่คุณใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของเครื่องอัดอากาศในโรงงานของคุณได้มากยิ่งขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพในโรงงานคุณมากขึ้น ด้วยปั๊มลมคุณภาพจาก FS-Curtis Thailand
อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายท่านคงเห็นถึงความสำคัญของการซ่อมบำรุงเครื่องอัดอากาศในโรงงานกันแล้ว ยิ่งคุณดูแลรักษาเครื่องนี้ดีมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้ช่วยลดปัญหา ค่าใช้จ่าย รวมทั้งอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้
แต่จะดีกว่าไหม? หากโรงงานของคุณมีปั๊มลมคุณภาพ ได้มาตรฐาน ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้ทุกคนที่ปฏิบัติงานได้มากขึ้น ที่ FS-Curtis Thailand เรามีบริการจำหน่ายเครื่องอัดอากาศในโรงงานทุกประเภท ที่มาพร้อมคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เรามีทีมวิศวกรและช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำแนะนำและช่วยติดตั้งอย่างถูกวิธี ในราคาคุ้มค่า สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-312-4547 ต่อ 101 (ฝ่ายขาย) หรือ อีเมล sales.th@fusheng.com