=
ข่าวสาร
หน้าแรก|ข่าวสาร|บล็อก|ทำความรู้จักกับระบบอัดอากาศโรงงานที่ทุกอุตสาหกรรม ควรให้ความสำคัญ

ทำความรู้จักกับระบบอัดอากาศโรงงานที่ทุกอุตสาหกรรม ควรให้ความสำคัญ

ระบบอัดอากาศโรงงาน หรือ “ปั๊มลม” ถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญในการใช้ภายในอุตสาหกรรมโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของงานช่าง งานผลิต โรงงาน หรือศูนย์ซ่อมบริการต่าง ๆ ดังนั้น ควรเลือกประเภทการใช้ปั๊มลมให้ถูกกับลักษณะการใช้งาน รวมถึงต้องรู้จักวิธีการตรวจสอบสภาพปั๊มลม ตรวจสอบลมรั่วและระบบอัดอากาศต่าง ๆ อย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้ทุกโรงงานอุตสาหกรรม สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความปลอดภัยต่อการทำงานด้วย 

ปั๊มลมคืออะไร?

ปั๊มลม (Air Compressor) คือ เครื่องอัดอากาศ ที่ใช้ในการอัดลมให้มีแรงดันสูงตามที่เราต้องการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในระบบโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรือโรงงานขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมครัวเรือนต่าง ๆ เช่น ร้านซ่อมและร้านบำรุงรถยนต์ โดยปั๊มลมจะมีรูปแบบการแบ่งออกเป็น 2 วิธี นั่นก็คือ การแบ่งตามวิธีการผลิตลม และแบ่งตามประเภทของการใช้งาน เรามาดูกันว่าแต่ละรูปแบบนั้น จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง 

1. แบ่งตามวิธีการผลิตลม

1.1 ปั๊มลมประเภทปริมาตรแทนที่เชิงบวก (Positive Displacement) – มีหลักการทำงานคือ จะนำอากาศเข้าไปยังห้องปิดที่มีพื้นที่จำกัด จากนั้นใช้พลังงานจากภายนอกในการทำให้พื้นที่ห้องเล็กลง จึงได้แรงดันของอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นตามที่ต้องการในการใช้งาน ตัวอย่างของปั๊มลมประเภทนี้ เช่น ปั๊มลมลูกสูบ ปั๊มลมโรตารี เป็นต้น

1.2 ปั๊มลมประเภทไดนามิคส์ (Dynamic Displacement) – มีหลักการทำงานคือ จะเร่งความเร็วของอากาศ จากนั้นจะจำกัดการไหล ซึ่งก็จะทำให้เกิดแรงดันที่เพิ่มสูงขึ้น ตามปกติปั๊มลมประเภทนี้อากาศจะถูกดูดเข้าไปตามช่องของใบพัดที่หมุน แล้วเร่งและลดความเร็วตามหลักการเพื่อให้เกิดแรงดันนั่นเอง ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศประเภทนี้ที่รู้จักกันดีคือ Centrifugal Compressor และ Turbo Compressor ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับงานขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานเคมี และโรงงานผลิตเหล็ก เป็นต้น

2. แบ่งตามวิธีการใช้งาน

สำหรับระบบอัดอากาศที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 6 ประเภท ซึ่งจะมีความแตกต่างกันต่อการใช้งาน เรามาดูกันว่า ในแต่ละประเภทจะเหมาะสมต่อการทำงานในรูปแบบใดกันบ้าง 

2.1 ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Reciprocating Air Compressor) – นิยมใช้งานมากที่สุด ด้วยความเหมาะสมต่อการใช้งานที่ให้พลังงานแรงดันได้มากถึง 1 บาร์ ไปจนถึง 1,000 บาร์ และยังมีราคาที่ไม่สูงมากนัก

2.2 ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor) – ใช้งานคล้ายประเภทลูกสูบ แต่จะให้ความเงียบและเสียงรบกวนที่น้อยกว่า เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมอาหาร

2.3 ปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor) – ให้การผลิตลมคุณภาพสูง และมีความสม่ำเสมอกว่าแบบลูกสูบ

2.4 ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor) – มีระบบอัดอากาศที่ให้ความสม่ำเสมอ ทำให้อากาศที่ออกมามีแรงดันที่คงที่ เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงลมที่สม่ำเสมอและคงที่

2.5 ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor) – ปั๊มลมประเภทนี้ต้องอาศัยการระบายความร้อนและอุณหภูมิที่ดี ไม่มีลิ้น ไม่ต้องการการหล่อลื่นขณะทำงาน มีต้นทุนการผลิตที่สูง 

2.6 ปั๊มลมประเภทกังหัน (Radial and axial flow Air Compressor) – มีอัตราการจ่ายลมที่มาก เนื่องจากมีใบพัดกังหันลมที่หมุนด้วยความเร็วสูง   

 

วิธีบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศ ให้ใช้งานได้นาน และคงประสิทธิภาพ

การตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศในโรงงานอยู่เป็นประจำ จะช่วยทำให้ทุกอุตสาหกรรมขับเคลื่อนได้อย่างมั่นใจ เพราะจะเป็นการรักษาประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องอัดลมให้คงที่ และเพิ่มความปลอดภัยแก่ทั้งตัวอุปกรณ์และผู้ใช้ ที่ FS Curtis Thailand เราให้บริการระบบอากาศอัดหรือลมอัด ที่ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ภายใต้มาตรฐานการผลิตที่มีคุณภาพในระดับสากล มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าใช้จ่ายที่สุดตลอดอายุการใช้งาน

เอฟเอส-เคอร์ติส และเอฟเอส คอมเพรสเซอร์ (ประเทศไทย) พร้อมสนับสนุนโปรเจคอนุรักษ์พลังงาน หรือความพยายามและความมุ่งหมายที่ประหยัดต้นทุนด้านพลังงานของบริษัทของท่าน ทีมวิศวกรของเรายินดีจะเข้าไปตรวจสอบระบบอากาศอัดในโรงงาน Audit หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงาน โดยเฉพาะปั๊มลมและระบบการอัดอากาศ เรามีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในโปรเจคพลังงานมานับทศวรรษ ด้วยผลงานที่พิสูจน์ได้ทั้งในและต่างประเทศ

Follow us for more updates! Facebook Twitter YouTube

Location

140/1-2 หมู่12 ซอย9/1 ถนนกิ่งแก้ว ตำบลราชาเทวะ
อำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540