เหตุผลสำคัญในการเลือกใช้เครื่องอัดอากาศ 2 ขั้นตอน
มีหลายสิ่งที่คุณควรจะรู้ไว้เป็นพื้นฐาน
Here’s What You Need to Know
หากคุณไปอู่ซ่อมรถเมื่อไม่นานมานี้ คุณอาจได้ยินเสียงการทำงานและการสั่นสะเทือนของเครื่องอัดอากาศที่ไม่ค่อยจะดังมากนัก เป็นไปได้เหลือเกินว่าเครื่องอัดอากาศที่คุณได้ยินนั้นเป็นเครื่องอัดลมสองขั้นตอน แต่ทำไมถึงไม่ใช่เครื่องอัดลมขั้นตอนเดียว? โดยทั่วไป ปั๊มลมขั้นตอนเดียวใช้กับการทำงานที่ไม่ต้องเรื่องเยอะหรือจุกจิก เช่น โรงรถของบ้าน หรือไซต์งานก่อสร้าง ในสถานที่เช่นนี้ ปืนยิงตะปูหรือการใช้งานบล็อกกระแทกเป็นครั้งคราวจะใช้เพียงเครื่องอัดอากาศขั้นตอนเดียว
If you’ve been in an auto body shop recently you may have heard the not-so-inconspicuous hum and rattle of an air compressor. More than likely what you heard was a two-stage air compressor, but why not a single-stage air compressor? Generally, single-stage units are for less demanding operations like home garages or construction job sites. In these settings nail guns or the occasional use of a ratchet gun only require single-stage compressors.
แล้วเพราะอะไรคุณถึงจำเป็นต้องใช้ปั๊มลม 2 ขั้นตอน? มีเหตุผลหลักๆ 3 ข้อด้วยกัน:
So, why would you need a two-stage air compressor? There are three main reasons:
- เกี่ยวกับความสูญเปล่าหรือความเปล่าประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น
- ถ้ามอเตอร์ปั๊มลมตัวหนึ่งเสียและ (หรือว่า) ต้องนำไปซ่อม มอเตอร์ปั๊มลมอีกตัวหนึ่งจะสามารถทำงาน หลีกเลี่ยงการเกิดดาวน์ไทม์ ซึ่งสำคัญต่อทุกธุรกิจ การไหลของอากาศหรือลมอาจจะลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง แต่ดีกว่าต้องหยุดการปฏิบัติการหรือปิดร้านขณะที่นำเครื่องอัดอากาศไปซ่อม
- Redundancy – If one pump motor fails and or needs service, the other pump motor can continue to operate, avoiding downtime, which is important for any business. Your air flow may be cut in half, but it’s better than shutting down your business while the compressor is serviced.
- เกี่ยวกับข้อจำกัดทางด้านไฟฟ้าที่อาจมี
- อะไรจะเกิดขึ้นหากคุณจำเป็นต้องใช้ปั๊มลม 10 – 15 แรงม้าแต่ไม่มีไฟฟ้า 3 เฟส หรือว่าแพงเกินไปที่จะใช้ ปั๊มลมดูเพล็กซ์ (duplex compressor หรือปั๊มลมสองขั้นตอนแบบหนึ่งที่มีปั๊มและมอเตอร์ขนาดเดียวกัน 2 ชุด) ที่มาพร้อมกับปั๊ม/มอเตอร์ขั้นตอนเดียวอาจเป็นทางออกของคุณก็ได้
- Electrical Limitations – What if you absolutely need a 10-15HP compressor but three-phase electrical service is either not available or too expensive to run? A duplex compressor with single-phase pump/motors would be your solution.
- เกี่ยวกับการใช้อากาศหรือลมที่ผันแปร
- หากคุณต้องการอากาศหรือลม โดยจำนวนลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) นั้นผันผวนตลอดทั้งวัน เครื่องอัดอากาศ 2 ขั้นตอนเป็นสิ่งที่จะช่วยควบคุมการไหลของอากาศหรือลมให้เป็นปกติได้อย่างดีที่สุด เมื่อการใช้ลมนั้นต่ำ มอเตอร์ปั๊มเพียงตัวเดียวของเครื่องอัดอากาศสองขั้นตอนนั้นจะทำงาน แต่ทั้ง 2 ปั๊มจะทำงานเมื่ออุปสงค์ของลมนั้นมากขึ้น
- Varying Air Usage – If you’re air needs, CFM, fluctuates throughout the work day, where one minute you’re using a small hand tool and the next a sand blaster, a two-stage compressor is perfect to help regulate air flow. When air consumption needs are low, only one pump motor will operate on your two-stage compressor, but both pumps kick in when demand increases.
หากคุณเข้ามาสู่ตลาดเพื่อตามหาเครื่องอัดอากาศ 2 ขั้นตอนเครื่องใหม่อยู่ละก็ นี่เป็นสิ่งที่คุณควรดูก่อน ก่อนที่จะเริ่มผูกมัดตัวเอง
If you’re in the market for a new two-stage compressor, here’s what to look for before you commit.
HP (แรงม้า)
นิยาม: 1 แรงม้า คือแรงที่ใช้ในการยกสิ่งที่หนัก 550 ปอนด์ (ประมาณ 249 กิโลกรัม) ขึ้นสูง 1 ฟุตใน 1 วินาที
ที่จริงแล้วค่า CFM (ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที) ที่ปั๊มลมของคุณปั๊มหรืออัดลมได้เป็นปัจจัยที่ใช้พิจารณาเมื่อเลือกซื้อปั๊มลม 2 ขั้นตอน แต่ก็จริงว่า ค่าแรงม้าที่ยิ่งสูงขึ้น ค่าของ CFM ที่จะผลิตได้ก็จะมากขึ้นตาม ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กันในทางตรงที่ไม่อาจมองข้ามได้ หรือกล่าวได้ว่า เป็นการรอบคอบกว่าที่จะเลือกซื้อโดยดูที่ CFM ไม่ใช่ HP
HP (Horsepower)
Definition: One HP is the force needed to lift 550 lbs. one foot in one second.
The CFM (cubic feet per minute) your compressor can generate is actually a critical factor to consider when shopping for a two-stage compressor. But, it’s true that generally speaking, the more HP you have, the more CFM it can produce, so there is a direct correlation that can’t be overlooked. That said, it’s more prudent to shop by CFM, not HP.
CFM (ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
ทุกๆ เครื่องมือลมในโรงซ่อมของคุณมีค่า CFM ที่กำหนดไว้เฉพาะของแต่ละเครื่องมือ ยิ่งค่า CFM มาก ปริมาณลมที่จำเป็นต้องใช้ของเครื่องมือนั้นก็จะยิ่งมาก โปรดจำไว้ว่า หากคุณมีร้านทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องขัดกระดาษทรายจำเป็นต้องใช้อากาศหรือลมมากกว่าปืนยิงตะปู
จัดทำบัญชี CFM (ปริมาณของความต้องการในการใช้ลม) ของแต่ละเครื่องมือและทำรายการคลังเครื่องมือที่ใช้ทุกวัน ถัดจากนั้นให้คำนวณ CFM ที่จำเป็นของคุณ โดยไม่ต้องคำนึงว่าเครื่องมือจะนำมาใช้งานในเวลาเดียวกันหรือไม่
CFM (cubic feet per minute)
Every air tool in your shop has a specific CFM requirement—the higher the CFM, the more air volume the tool uses. Keep in mind that if you’re a furniture shop then your sanders will require more air than nail guns.
Take an inventory of CFM requirements for each tool and the number of everyday tools. Next, calculate your necessary CFM, regardless of whether they will all be operating at the same time or not.
แรงดันไฟฟ้า (โวลต์)
เฟสเดียว? สามเฟส? แตกต่างกันอย่างไรหรือ?
กล่าวกันโดยทั่วไป สำหรับไฟเฟสเดียวจะพบในสภาพแวดล้อมที่เป็นที่อยู่อาศัย และแบบสามเฟสมักพบในอาคารสำหรับธุรกิจ โรงงานผลิต ฯลฯ ดังนั้นจึงชัดเจนว่า การพิจารณาลำดับแรกของคุณว่าจะเลือกใช้คอมเพรสเซอร์เฟสเดียวหรือสามเฟสอยู่บนพื้นฐานของสถานที่ที่คุณจะใช้เครื่องคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมนั้น
หมายเหตุ: ไฟฟ้าสามเฟสมีประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้นจึงส่งผลให้การสึกหรอของเครื่องอัดลมของคุณมีน้อยกว่า
โปรดจำไว้ด้วยว่า มาตรฐานทางไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และเฟสแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ โปรดตรวจสอบมาตรฐานอาคารในท้องที่ของคุณกับช่างไฟฟ้าก่อนที่จะรูดบัตรเครดิต
Voltage
Single-phase? Three-phase? What’s the difference?
Generally speaking, single-phase electrical is found in residential settings. Three-phase in commercial buildings, manufacturing operations, etc. So, obviously your first consideration of whether to choose a single-phase or three-phase compressor is based on where you will be using it.
Sidenote: Three-phase electricity is considered to be more efficient and therefore could result in less wear and tear on your compressor’s motor.
Keep in mind that electrical codes, voltage and phase vary widely geographically so be sure to check your local building codes and with an electrician before laying out that credit card.
แกลลอน
ขนาดถังที่คุณต้องใช้ควบคู่กับเครื่องอัดลมของคุณต้องใหญ่ขนาดไหน?
ในการใช้กับเครื่องอัดอากาศ 2 ขั้นตอน ถังมีขนาดตั้งแต่ 60 – 200 แกลลอน (ประมาณ 273 – 909 ลิตร) ขนาดถังที่จะใช้พึงขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศนั้นของคุณ
Gallons
How big of a tank do you need for your compressor?
With two-stage compressors tank sizes range from 60 – 200 gallons. The size of your tank should be based on how often the compressor will be in use.
บทความนี้น่าจะช่วยให้คุณมีความรู้ความเข้าใจในระดับหนึ่งและพอทราบว่าคุณควรพิจารณาอะไรบ้างในการเลือกเครื่องอัดลมสองขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นเครื่องแรกหรือเครื่องถัดไปของคุณก็ตาม
This should give you some insight of what to consider when choosing your next, or first, two-stage compressor.