เทคนิคการใช้ปั๊มลม พร้อมช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่าที่คิด

“ปั๊มลม” ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุกแห่ง ทั้งยังเป็นหนึ่งในตัวการกินพลังงานอันดับต้น ๆ อีกด้วย จึงไม่แปลกที่โรงงานหลายแห่งจะมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ยังไม่รวมถึงค่าซ่อมบำรุงที่จะเกิดขึ้นอีก เพราะเหตุนี้ เราจึงได้นำเทคนิคการอนุรักษ์พลังงานในระบบอัดอากาศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมมาฝากกัน!
เลือกใช้งานปั๊มลมที่เหมาะสม
เครื่องปั๊มลมมีอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละแบบนั้นก็มีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรม ดังนั้น ควรจะเลือกให้เหมาะสมทั้งประเภทการใช้งาน ขนาด และชนิดของปั๊มลม เพื่อช่วยประหยัดพลังงานที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละประเภทและการทำงานของปั๊มลมแต่ละชนิดจะมีจุดเด่น ดังนี้
- ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Reciprocating Air Compressor) : ตอบโจทย์ได้หลายด้าน สร้างแรงดันลมได้ตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับสูง นิยมใช้ตามอู่ซ่อมรถ ร้านยางรถยนต์ เป็นต้น
- ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor) : มีหลักการใช้งานคล้ายคลึงกับแบบลูกสูบ แต่จะให้ความเงียบและเสียงรบกวนที่น้อยกว่า อีกทั้งลมที่ได้ ยังเป็นแบบปราศจากน้ำมัน จึงเหมาะกับการใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา และเคมีมากกว่า
- ปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor) : สามารถผลิตลมที่มีคุณภาพสูงได้ ทั้งยังให้ปริมาณลมที่สม่ำเสมอ นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป
- ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor) : พร้อมให้ระบบอัดอากาศที่สม่ำเสมอ มีแรงดันคงที่ จึงเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงลมที่สม่ำเสมอและคงที่
- ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor) : ปั๊มลมประเภทนี้จะดูดอากาศเข้าไปโดยไม่เปลี่ยนปริมาตร แต่จะบีบอัดตัวขณะเก็บเข้าไปในถังลม ทำให้ต้องอาศัยการระบายความร้อนและอุณหภูมิที่ดี ทั้งยังมีการหล่อลื่นขณะทำงาน แต่ก็แลกมาด้วยต้นทุนการผลิตที่สูง
- ปั๊มลมแบบกังหัน (Radial And Axial Flow Air Compressor) : ให้อัตราการจ่ายลมได้สูง เนื่องจากมีใบพัดแบบกังหันลมถึงสองด้าน โดยสามารถจ่ายแรงลมได้ตั้งแต่ 170-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที
แก้ไขการรั่วไหลเดิมและป้องกันการรั่วไหลใหม่
หมั่นตรวจสอบการใช้งานของอุปกรณ์ในทุก ๆ จุด ตั้งแต่จุดต่อสาย ข้อต่อต่าง ๆ เพื่อหาส่วนที่มีการเสื่อมสภาพ และอาจเสี่ยงต่อการรั่วไหลของอากาศภายใน พร้อมดำเนินการซ่อมบำรุงให้เสร็จตามมาตรฐานที่จะยินยอมให้มีอากาศรั่วไหลได้ไม่เกิน 5% ของปริมาณอัดอากาศทั้งหมดที่ผลิต เหล่านี้จึงเป็นหนึ่งในแนวทางการอนุรักษ์พลังงานในระบบอัดอากาศ ช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องต้องทำงานหนักจนสูญเสียพลังงานไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์
ตรวจสอบและปรับปรุงโครงสร้างระบบท่อจ่ายอากาศอัด
ตรวจสอบละวางโครงสร้างท่อจ่ายอากาศใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายอากาศอัดให้เพียงพอต่อการใช้งาน โดยลักษณะท่อที่ดีนั้นควรจะเป็นแบบวงแหวนที่สามารถลดปัญหาความดันตกได้ดี พร้อมช่วยให้ปั๊มลมประหยัดพลังงานจากการผลิตอากาศอัดทดแทนได้อย่างเหมาะสม
ตั้งแรงดันอากาศอัดให้เหมาะสม
ปรับตั้งค่าแรงดันของระบบให้เหมาะสม คอยตรวจสอบระดับให้อยู่ในมาตรฐาน เพื่อสังเกตถึงการทำงานของเครื่องปั๊มลมว่าเกิดการรั่วไหล หรือมีปัญหาในท่อหรือตัวกรองอุดตันหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้เครื่องปั๊มลมทำงานได้อย่างเหมาะสม ประหยัดพลังงานในการผลิตอากาศอัดได้เป็นอย่างดี
ตรวจสอบและเปลี่ยนตัวกรอง
ตรวจสอบเพื่อเปลี่ยนตัวกรองอย่างเป็นระบบ ปรับปรุงคุณภาพของอากาศและป้องกันไม่ให้แรงดันลดลง จนทำให้ต้องสูญเสียพลังงานไฟฟ้าไปกับการผลิตอากาศอัดโดยเปล่าประโยชน์นั่นเอง
ดูแลรักษาอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ
โดยรวมแล้วเครื่องจักรอุตสาหกรรมทุกประเภทจำเป็นที่จะต้องดูแลและรักษาให้ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับเครื่องปั๊มลม หากต้องการอนุรักษ์พลังงานในระบบอัดอากาศไปพร้อม ๆ กับเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ได้มาตรฐาน การบำรุงรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญและทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์สูง จะช่วยขับเคลื่อนระบบการผลิตในอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพได้อย่างมั่นใจ ทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่อุปกรณ์และผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี
หากคุณกำลังมองหาผู้ช่วยดูแลระบบอัดอากาศในอุตสาหกรรม พร้อมบริการให้คำแนะนำที่สนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานในระบบอัดอากาศ FS-Curtis Thailand เรามีทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านโปรเจกต์พลังงานมานานนับทศวรรษ พร้อมให้การปรับปรุง ดูแล และบำรุงรักษาแบบครบวงจร หากสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 02-312-4547 ต่อ 101 (ฝ่ายขาย) หรือ อีเมล sales.th@fusheng.com