ประหยัดค่าไฟง่าย ๆ แค่หมั่นตรวจสอบระบบอัดอากาศในโรงงาน!

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการโรงงานที่ต้องรับมือกับปัญหาค่าไฟบานปลายอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะระบบอัดอากาศโรงงานที่ชำรุดหรือเสียหาย เนื่องจากขาดการซ่อมบำรุงมานาน จนทำให้เกิดปัญหา “ลมรั่ว” ตัวการกินไฟหลักที่ผู้ประกอบการมักจะเสียเปรียบโดยไม่รู้ตัวอยู่เสมอ
ลองเริ่มต้นตรวจสภาพปั๊มลมด้วยการสังเกตรายละเอียดแบบง่าย ๆ พร้อมรับมือปัญหาจากลมรั่วด้วยวิธีจัดการที่เหมาะสม จากการรวบรวมของผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องอัดอากาศ ผ่านเนื้อหาในบทความนี้ได้เลย
ก่อนตรวจสอบลมรั่วในระบบอัดอากาศ มีอะไรบ้างที่ควรรู้?
“รอยรั่วในระบบอัดอากาศ” สาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องอัดอากาศต้องทำงานหนัก ผลิตปริมาณลมมากขึ้นอีกเท่าตัวแต่ผลผลิตกลับได้เท่าเดิม ส่งผลให้โรงงานต้องสิ้นเปลืองต้นทุนและสูญเสียพลังงานไปโดยใช่เหตุ หากไม่อยากเผชิญกับปัญหาดังกล่าว สิ่งแรกที่ต้องเริ่มทำเลย คือการทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาลมรั่วจากข้อมูลหลัก ๆ ดังนี้
ลักษณะของปัญหาลมรั่ว
- ลมรั่วแบบตรง
เป็นการรั่วที่สังเกตได้ง่าย สามารถฟังได้จากเสียง หรือมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยส่วนมาก มักเกิดจากตัวของอุปกรณ์เอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร ปืนลม อุปกรณ์เป่าลม วาล์ว ตลอดจนชุดเครื่องปรับแรงดันลม ทั้งนี้มักมีสาเหตุมาจากความเสียหาย การชำรุดที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง - ลมรั่วแบบซึม
เป็นลักษณะการรั่วที่สังเกตได้ยาก เนื่องจากเป็นการเกิดแบบจุดเล็ก ๆ หรือการรั่วไหลตามข้อต่อของอุปกรณ์ ทำให้ไม่สามารถสังเกตจากการฟังเสียงหรือมองเห็นได้ โดยการตรวจสภาพปั๊มลมที่มีปัญหาแบบนี้ จะสามารถเช็กได้จากการใช้เครื่องมือตรวจวัดเสียงที่มีความถี่ หรือใช้น้ำยาเช็กรอยรั่ว เพื่อทำการฉีดในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งถ้าหากว่าฟองอากาศปรากฏขึ้นมา ก็แสดงว่ามีการรั่วซึมเกิดขึ้นจริง
ระบบอัดอากาศไม่ควรมีรอยรั่วเกินกี่เปอร์เซ็นต์?
หากอ้างอิงตามทฤษฎีที่ถูกต้อง ระบบอัดอากาศในโรงงานก็ไม่ควรมีรอยรั่วไหลแม้แต่น้อย หรือมีทั้งหมด 0% แต่ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ ระบบการทำงาน และปัจจัยอีกมากมาย ทำให้การดูแลรักษาไม่สามารถปราศจากรอยรั่วได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดที่ผู้ประกอบการจะทำได้ ก็คือดูแลให้ระบบอัดอากาศในโรงงานมีรอยรั่วไหล “น้อยที่สุด” ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแนะนำว่า ไม่ควรจะเกิน 5% ของระบบอัดอากาศทั้งหมด
จะทำอย่างไรหากเกิดรอยรั่วเกินมาตรฐาน?
- ในกรณีที่มีรอยรั่วเกินมาตรฐาน โดยอยู่ระหว่าง 5% – 10% ควรเร่งตรวจสอบลมรั่วในระบบอัดอากาศอย่างเร่งด่วน ด้วยการให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาวิเคราะห์ ให้คำแนะนำและวิธีการซ่อมจุดที่รั่วได้อย่างตรงจุด พร้อมลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
- ในกรณีที่มีรอยรั่วมากกว่า 10% ขึ้นไป ควรเร่งทำการประเมินลำดับความเสียหายของจุดรั่ว และซ่อมแซมจุดที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะลดผลกระทบจากการสิ้นเปลืองพลังงาน รวมไปถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากปล่อยปัญหาเอาไว้โดยไม่ได้รับการแก้ไข และที่สำคัญจะต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบลมรั่วในระบบอัดอากาศเท่านั้น
วิธีตรวจสภาพปั๊มลม เช็กรอยลมรั่วด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ
- เปิดการทำงานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีอัตราการไหลอยู่ที่ประมาณ 40% ของอัตราการไหลทั้งหมด
- ปล่อยให้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมทำงาน และมีความเสถียรในการโหลด (Load) และอันโหลด (Unload)
- จดบันทึกเวลาในการโหลด (Load) และอันโหลด (Unload) โดยละเอียด ประมาณ 5 – 10 ครั้ง
- หาอัตราการรั่วไหลเป็นเปอร์เซ็นต์การทำงานได้ด้วยสูตร [T/(T+t)] x 100% เช่น
- เวลาจริงที่ใช้ในช่วงการทำงาน Load (T) = 2,521 วินาที
- เวลาจริงที่ใช้ในช่วงการทำงาน Unload (t) = 44 วินาที
เมื่อแทนค่าสูตรจะเป็น เปอร์เซ็นต์การทำงาน | = [2,521/(2,521+44)] x 100% |
= 98.28 % |
เท่ากับมีอัตรารั่วไหลของลมอัดที่ได้มาตรฐาน และมีรอยรั่วเพียง 1.72% จากการทำงานของระบบอัดอากาศในโรงงานนั่นเอง
ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศได้อย่างสะดวก แถมยังปลอดภัยยิ่งกว่า แค่ติดตั้งระบบอัดอากาศในโรงงานจาก FS Curtis Thailand พร้อมบริการดูแลหลังการขาย ให้คำแนะนำ และซ่อมบำรุงโดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกฝนระดับมาตรฐานสากล มั่นใจดูแลระบบอัดอากาศให้ปลอดภัย ประหยัดค่าไฟได้มากกว่าที่เคย!
หากสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 02-312-4547 ต่อ 101 (ฝ่ายขาย) หรือ อีเมล sales.th@fusheng.com